ผลของฤดูกาลและจันทรคติต่อการทำประมงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) โดยอวนจมปู ในพื้นที่บ้านบางพัฒน์ ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา
การศึกษาผลของฤดูกาลและจันทรคติต่อการทำประมงปูม้า (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758) โดยอวนจมปู ในพื้นที่บ้านบางพัฒน์ ตำบลบางเตย อำเภอเมือง จังหวัดพังงา ระหว่างเดือนเมษายน 2553 และเดือนสิงหาคม 2553 พบว่า อัตราการจับปูม้าเฉลี่ย จากเครื่องมืออวนจมปู ในฤดูร้อน เดือนเมษายน เท่ากับ 1.769 กิโลกรัมต่อวันต่อลำ อัตราการจับปูม้าเฉลี่ย ในฤดูฝน เดือนสิงหาคม เท่ากับ 2.237 กิโลกรัมต่อวันต่อลำโดยการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลต่ออัตราการจับ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อัตราการจับปูม้าตามจันทรคติ เดือนเมษายน มีค่าสูงสุดในช่วงขึ้น 13 ค่าและมีค่าต่ำสุดในช่วงขึ้น 4 ค่ำ เท่ากับ 4.219 และ 0.263 กิโลกรัมต่อวันต่อลำ ตามลำดับ ในช่วงเดือนสิงหาคม อัตราการจับปูม้า มีค่าสูงสุดในช่วง แรม 1 ค่ำ และมีค่าต่ำสุด ช่วงขึ้น 4 ค่ำ โดยมีค่า เท่ากับ 4.331 และ 0.550 กิโลกรัมต่อวันต่อลำ ตามลำดับ แต่การเปลี่ยนแปลงของจันทรคติ (ข้างขึ้น-ข้างแรม) มีผลต่ออัตราการจับปูม้า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การกระจายของขนาดปูม้าที่ได้จากอวนจมปู ในฤดูฝน เดือนสิงหาคม พบว่า ปูม้า (รวมเพศ) มีขนาดความกว้างของกระดองระหว่าง 8.735-15.130 เซนติเมตร โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 12.041 เซนติเมตร ปูม้าส่วนใหญ่จากการศึกษาในครั้งนี้จะมีความกว้างของกระดองอยู่ระหว่าง 12.000-12.700 เซนติเมตร
File Name: | ผลของฤดูกาลและจันทรคติต่อการท าประมงปูม้า.pdf |
File Size: | 377.74 KB |
File Type: | application/pdf |
Hits: | 204 Hits |
Created Date: | 12-11-2022 |
Last Updated Date: | 12-11-2022 |
Document history: |