Bycatch

Sub Categories

Display:

ติดตามผลการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการเก็บข้อมูลอัตราการจับและองค๋ประกอบสัตว์น้ำของอวนจมกุ้ง อวนจมปูและอวนลอยปลาทูจากท่าเทียบเรือในหมู่บ้านประมง ในช่วงก่อนการจัดสร้างปี 2537-2538 และหวังจากจัดสร้างปี 2539-2543 ...

จากการศึกษาการแพร่กระจายขนาดของปูม้าจากเครื่องมือประมงประเภทอวนลากและอวนรุนในน่านน้ำไทย ซึ่งปรกอบด้วย เรืออวนากขนาดใหญ่ (ความยาวมากกว่า 14 เมตร) เรืออวนลากแคระ (ความยาวน้อยกว่า 14 เมตร) และเรืออวนรุน พบว่า อัตราการจับปูม้าของเรือประมงอวนลากขนาดใหญ่แยกตามจังหวัดที่สุ่มตัวอย่าง คือ นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี สตูล และภูเก็ต มีค่าเท่ากับ 0.081 0.063 0.053 0.891 และ 0.324 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ตามลำดับ ...

การศึกษาการประมงปูม้าบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมงอวนจมปูและลอบปูในจังหวัดปัตตานี และนครศรีธรรมราช เดือนละครั้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  2547 พบว่าการทำประมงอวนจมปู ใช้เรือหางยาวซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดความยาวเรือ 7 เมตร ทำการประมงตามแนวชายฝั่งระดับน้ำลึก 2-10 เมตร ในรอบปีทำการประมงได้ 8 เดือน ส่วนการทำประมงลอบปูใช้เครื่องกลางลำมีขนาดตวามยาว 8-18 เมตร แหล่งการทำประมงระดับลึก 12-35 เมตร โดยสามารถทำการประมงได้ตลอดปี ...

การศึกษาในครั้งนี้เพื่อประเมินผลกระทบของการเกิดการประมงผีของลอบปูแบบพับได้ ขนาด 36 x 54 x 19 ซม. ที่ชาวประมงใช้ในปัจจุบัน โดยจำลองการหายของลอบจำนวน 12 ลูก บริเวณอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี บันทึกและเก็บข้อมูลด้วยการดำน้ำ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2556 - 5 เม.ย. 2557 (454 วัน) พบสัตว์น้ำเข้าลอบจำนวนทั้งหมด 553 ตัว (25 ชนิด) ...

จากการศึกษษการแพร่กระจายของประชากรปูม้า (Portunus pelagicus Lin.) จากข้อมูลการทำประมงพื้นบ้านของชาวประมงในจังหวัดชลบุรี ซึ่งทำการประมงด้วยลอบปูและอวนจมปู ในพื้นที่อ่าวบางแสน อ่าวศรีราชา อ่าวอุดม และอ่าวบางละมุง พบว่ามีการแพร่กระจายของประชากรปูม้าตามฤดูกาล ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการแพร่กระจายของความอุดมสมบูรณ์ของประชากรในธรรมชาติและขนาดของปูม้า ...