Management

Display:

การศึกษาทัศนคติของชาวประมงต่อการจัดการทรัพยากรปูม้า โดยการสัมภาษณ์ชาวประมงครอบคบุมจังหวัดชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม 2547 จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 487 ตัวอย่าง เป็นเพศชายร้อยละ 90.8 มีอายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีจำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คนต่อครอบครัว ประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก ...

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนประมงในอ่าวพังงา มีความสำคัญยิ่งต่อการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรปูม้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไปส่วนบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรปูม้า ระดับการมีส่วนร่วม รวมถึงปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจและการทำประมงต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรปูม้า และปัจจัยการมีส่วนร่วมต่อความพึงพอใจการดำเนินงานโครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง (โครงการ CHARM) ...

ชาวประมงขนาดเล็กในจังหวัดตรังที่ทำการประมงปูม้ามี 752 ราย เครื่องมือที่ใช้ทำการประมงปูม้ามี 5 ประเภท โดยชาวประมงใช้อวนจมปูม้ามากที่สุด รองลงมาลอบแดง ลอบพับเหลี่ยม ลอบพับกลม และสวิงปูม้า ชาวประมงที่ใช้อวนจมปูม้าส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามเกาะ ส่วนกลุ่มที่ใช้เครื่องมือประมงประเภทอื่นอาศัยบริเวณแนวชายฝั่ง ชาวประมงขนาดเล็กที่ทำการประมงปูม้ามีอายุเฉลี่ย 40 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา ภูมิลำเนาเดิมเป็นคนในพื้นที่ รานได้และค่าใช้จ่าย 5,846 และ 5,148 บาทต่อเดือน

ความคิดเห็นของชาวประมงที่มีต่อแนวทางการจัดการประมงปูม้าเป็นส่วนสำคัญต่อการกำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการจัดการทรัพยากรปูม้า พบว่าชาวประมงปูม้าในจังหวัดตรังเห็นด้วยกับแนวทางการจัดการประมงปูม้าในด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การจัดตั้งชมรมและการให้ความร่วมมือกับนโยบายที่กำหนดโดยชมรม การบำรุง ดูแล และรักษาแหล่งเพาะและอนุบาลปูม้า การไม่จับปูม้าขนาดเล็ก และนโยบายเกี่ยวกับปูม้าที่มีไข่นอกกระดอง ...

การแพร่กระจายของปูม้าขนาดเล็ก (ความกว้างกระดองน้อยกว่า 96.8 หรือ 101.1 มิลลิเมตร) ในพื้นที่ศึกษาจังหวัดตรัง เก็บข้อมูลด้วยการใช้ลอบพับเหลี่ยม ระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2549 ถึงกันยายน พ.ศ. 2550 พบว่าปูม้าขนาดเล็กแพร่กระจายอยู่บริเวณชายฝั่ง เริ่มจากเกาะมุกต์จนถึงปากแม่น้ำตรัง โดยเฉพาะบริเวณแหล่งหญ้าทะเล ...