Stock

Study of blue swimming crab.

Display:

การลดลงของปูม้าส่งผลให้หลายหน่วยงานดําเนินโครงการเพ่ิมพันธ์ุปูม้าเพ่ือเพิ่มการทดแทนที่ ในธรรมชาติ การศึกษาครั้งนี้ จึงดําเนินการเพื่อประเมินทรัพยากรปูม้าที่ได้รับจากโครงการเพิ่มพันธ์ุปูม้า บริเวณ อ่าวบุญคงและหน้าเกาะเมง อําเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยใช้ลอบเก็บข้อมลูปมู้านําข้อมลูที่ได้มาประเมินผลผลิตปูม้าด้วยระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์...

การศึกษาการแพร่กระจายของปูม้าในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลในอ่าวบุญคง หน้าเกาะเมง และหาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยใช้ลอบจำนวน 218 ลูก เก็บตัวอย่างปูม้าในเดือนกันยายน ตุลาคม ธันวาคม พ.ศ.2554 กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม พ.ศ.2555 ตามลำดับ โดยปล่อยลูกปูม้าระยะโซเอี้ย เมกะโลปา และตัวเต็มวัย ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม พ.ศ.2555 จัดทำแผนที่การแพร่กระจายของปูม้าด้วยวิธีการประมาณค่าในช่วงจากโปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศ พบว่า เดือนกันยายน ตุลาคม พ.ศ.2554 และกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตประชากรปูม้ากับปัจจัยทางกายภาพ ในแหล่งหญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการศุกษาพลวัตของประชากรปูม้าในระยะที่เป็นแพงก์ตอน ลูกปูม้าระยะหลังการลงเกาะ และตัวเต็มวัยในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล 2 ชนิด คือหญ้าทะเลใบยาว Enhelus acoroides และหญ้าผมนาง Halodule pinifolia ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552...

การประเมินสภาวะทรัพยากรปูม้า (Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758)) บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการประมงจากเครื่องมือลอบปูพาณิชย์ ลอบปูพื้นบ้าน และอวนจมปู...

การศึกษาชีววิทยาประชากรปูม้า Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758) ในพื้นที่แนวเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำวัยอ่อนสี่หมู่บ้าน จังหวัดตรัง ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 7 สถานี เดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2552 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 ด้วยเครื่องมือลอบปูม้าขนาดตาอวน 1.7 นิ้ว, 2 นิ้ว และอวนจมปูม้าขนาดตาอวน 4 นิ้ว...