Display:

การศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการจับของเครื่องมือประมงประเภทลอบปูม้า ในอ่าวสิเกา ในระหว่างเดือน เมษายน - มิถุนายน 2549 พบว่า ผลจับต่ออัตราการลงแรงงานประมง (กรัม ต่อลอบ) ของเครื่องมือลอบปูม้าแบบพับไม่ได้ หรือลอบแดง ไม่มีความแตกต่างจากไซหยอง ...

การศึกษาการประมงปูม้าบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการประมงอวนจมปูและลอบปูในจังหวัดปัตตานี และนครศรีธรรมราช เดือนละครั้ง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม  2547 พบว่าการทำประมงอวนจมปู ใช้เรือหางยาวซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดความยาวเรือ 7 เมตร ทำการประมงตามแนวชายฝั่งระดับน้ำลึก 2-10 เมตร ในรอบปีทำการประมงได้ 8 เดือน ส่วนการทำประมงลอบปูใช้เครื่องกลางลำมีขนาดตวามยาว 8-18 เมตร แหล่งการทำประมงระดับลึก 12-35 เมตร โดยสามารถทำการประมงได้ตลอดปี ...

งานวิจัยนี้เน้นการตรวจสอบว่าปัจจัยทางการเงิน ซึ่งได้แก่ ต้นทุน รายได้ และกาไร อาจมีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกแหล่งทำประมง และฤดูกาลในการทาประมง และการเปลี่ยน เครื่องมือทำประมงของชาวประมง ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้รวบรวมจากชาวประมงปูม้าพื้นบ้าน ตำบลบางพระ จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2549 จนถึง เดือนกันยายน 2550 ซ่ึ่งทำประมงด้วยลอบปูแบบพับได้และอวนจมปู ในแหล่งประมงบางแสน ศรีราชา อ่าวอุดม และ บางละมุง ...

การศึกษาการแพร่กระจายของปูม้าในบริเวณแหล่งหญ้าทะเลในอ่าวบุญคง หน้าเกาะเมง และหาดปากเมง อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง โดยใช้ลอบจำนวน 218 ลูก เก็บตัวอย่างปูม้าในเดือนกันยายน ตุลาคม ธันวาคม พ.ศ.2554 กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม พ.ศ.2555 ตามลำดับ โดยปล่อยลูกปูม้าระยะโซเอี้ย เมกะโลปา และตัวเต็มวัย ในเดือนกุมภาพันธ์ และมีนาคม พ.ศ.2555 จัดทำแผนที่การแพร่กระจายของปูม้าด้วยวิธีการประมาณค่าในช่วงจากโปรแกรมระบบภูมิสารสนเทศ พบว่า เดือนกันยายน ตุลาคม พ.ศ.2554 และกุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

ความสัมพันธ์ระหว่างพลวัตประชากรปูม้ากับปัจจัยทางกายภาพ ในแหล่งหญ้าทะเล อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี ได้ดำเนินการศุกษาพลวัตของประชากรปูม้าในระยะที่เป็นแพงก์ตอน ลูกปูม้าระยะหลังการลงเกาะ และตัวเต็มวัยในบริเวณแหล่งหญ้าทะเล 2 ชนิด คือหญ้าทะเลใบยาว Enhelus acoroides และหญ้าผมนาง Halodule pinifolia ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. 2551 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552...