ผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมง (CPUE) หรือ ดัชนีชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของประชากรสัตว์น้ำ มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดการประมง และจำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติ และลักษณะของข้อมูล เพื่อทราบความเที่ยงตรง และน่าเชื่อถือ งานวิจัยนี้มุ่งประเด็นในการศึกษาดังกล่าว กับการประมงปูม้า (Portunus pelagicus Lin) ...
การศึกษาในครั้งนี้เพื่อประเมินผลกระทบของการเกิดการประมงผีของลอบปูแบบพับได้ ขนาด 36 x 54 x 19 ซม. ที่ชาวประมงใช้ในปัจจุบัน โดยจำลองการหายของลอบจำนวน 12 ลูก บริเวณอ่าวศรีราชา จังหวัดชลบุรี บันทึกและเก็บข้อมูลด้วยการดำน้ำ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2556 - 5 เม.ย. 2557 (454 วัน) พบสัตว์น้ำเข้าลอบจำนวนทั้งหมด 553 ตัว (25 ชนิด) ...
จากการทดลองวางลอบปูแบบพับได้ที่มีขนาดตาอวนท้องลอบต่างกัน 3 ขนาด คือ 32 64 และ 76 มิลลิเมตร และอวนจมปูที่มีขนาดตาอวนต่างกัน 4 ขนาดคือ 90 100 110 และ 120 มิลลิเมตร จำนวนทั้งสิ้น 32 ครั้ง ในบริเวณอ่าวพังงาที่มีระดับความลึกต่ำกว่า 5 เมตร และที่มีความลึก 5 เมตรขึ้นไป ในช่วงเดือนธันวาคม 2546 ถึง เมษายน 2547 พบว่าลอบปูสามารถจับสัตว์น้ำได้ทั้งสิ้น 112.71 กิโลกรัม ...
การประเมินสภาวะทรัพยากรปูม้า (Portunus pelagicus (Linnaeus, 1758)) บริเวณอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ในพื้นที่จังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด ตั้งแต่เดือนธันวาคม ปี 2552 โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการประมงจากเครื่องมือลอบปูพาณิชย์ ลอบปูพื้นบ้าน และอวนจมปู...
กาประมงลอบปู ดำเนินการศึกษาในแหล่งประมงอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2547 ถึง พฤษภาคม พ.ศ. 2548 พบว่า องค์ประกอบสัตว์น้ำที่จับได้ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปู ร้อยละ 96.07 โดยเป็นปูม้า (Portunus pelagicus) มากที่สุด (ร้อยละ 81.33) กลุ่มปลาร้อยละ 2.85 และกลุ่มอื่นๆร้อยละ 1.08 ขนาดปูม้าที่จับได้มีขนาดความกว้างกระดองอยู่ในช่วง 2.50 - 19.50 เซนติเมตร ...
Please complete the form below to download the document [DOCUMENT_TITLE]